วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อาการปวดหลัง ปวดเอว

อาการปวดหลัง ปวดเอว
   โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง (Musculotendinous strain) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการปวดหลัง (Back pain)
พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเป็นต้นไป แต่อาการปวดหลัง ปวดเอว ซึ่งเป็นปัญหากับหลายๆคน
โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคน ถ้าปวดหลัง ปวดเอวจากกล้ามเนื้อ จะเป็นภาวะที่ไม่อันตรายร้ายแรง
แต่ก่อให้เกิดความเจ็บ ปวด และอาจเป็นอาการปวดหลัง ปวดเอวเรื้อรังได้
โดยอาการปวดจะแสดงในลักษณะต่าง เช่น บางรายอาจปวดเฉพาะบริเวณหลังหรือกระเบนเหน็บ
บางรายอาจปวดหลังและร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างและมีอาการชาร่วมด้วยจนเดินไม่ได้ก็มี
บางรายอาจมีอาการปวดเอว แล้วก็มีอาการตึงมาทางหน้าท้อง
สาเหตุของอาการปวดหลัง ปวดเอว แบ่งได้เป็น 3 สาเหตุหลัก
1.ปวดหลังจากไตอักเสบ หรืออาจมีนิ่วที่ไต มักจะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะอาจมีแสบ ขัด ขุ่น
ถ้าเคาะเบาๆ ที่เอวด้านที่ปวดจะเจ็บมากจนสะดุ้ง
2.ปวดหลังจากกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังที่เอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
มักพบในคนเลยวัยกลางคนแล้ว คนที่ต้องแบกของหนักเสมอ หรือผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุที่บริเวณหลัง
บางรายเท้าจะอ่อนแรง ยกปลายเท้าไม่ขึ้น อาการอาจค่อยเป็นค่อยไป
บางรายก้มยกของหนัก แล้วหมอนรองกระดูกก็เคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท ทำให้ปวดกะทันหันก็มี
3.ปวดหลัง ปวดเอว จากกล้ามเนื้อหลัง   มักเกิดจากการทำงานก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน
หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป นั่งเล่นเกมส์หรือทำงานนานเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป
ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง
จึงเกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง   คนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจมีอาการปวดหลังได้
และที่สำคัญเมื่ออายุมากขึ้น เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อหลัง เอว หน้าท้อง จะมีอาการหดเกร็งหรือเกิดอาการตึง เรียกว่า
"กษัยเส้น"
จะทราบได้อย่างไรว่าปวดหลัง ปวดเอว จากสาเหตุใด ให้ทดลองดังนี้
ขั้นแรก ลองให้นอนหงายบนพื้นแข็ง ๆชันเข่าขึ้นบน ท่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อหลังคลายตัว
ถ้าอาการดีขึ้น ก็น่าจะปวดหลัง ปวดเอวจากกล้ามเนื้อ
ขั้นต่อมา ลองใช้กำปั้นทุบเบาๆ ที่บั้นเอวข้างที่ปวด ถ้าปวดจนสะดุ้ง ร่วมกับมีไข้ ปัสสาวะแสบ ขัด ขุ่น
ก็มีโอกาสเป็นไตอักเสบ ควรรีบพบแพทย์ทันที
ถ้าทุบแล้วรู้สึกว่าสบาย อาการดีขึ้น ก็น่าจะปวดหลังจากกล้ามเนื้อ
ขั้นสุดท้าย ลองนอนหงาย เหยียดขาทั้ง 2 ข้างออก แล้วให้คนอื่นยกขาข้างที่ปวดเอวขึ้นมาตรงๆ เร็วๆ
โดยที่ขาอีกข้างยังเหยียดราบอยู่ ถ้าเกิดอาการปวดเอวด้านที่ยกขาขึ้น และปวดร้าวแปล๊บไปที่ปลายเท้า
ก็น่าจะเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์ทันที
วิธีแก้อาการปวดหลัง ปวดเอว   ที่ปวดจากกล้ามเนื้อหลัง ต้องดูว่าอิริยาบถเป็นอย่างไร
ถ้าอาการปวดหลังเกิดจากการนอน ที่นอนควรใช้แบบแน่นยุบตัวน้อยที่สุด ไม่ควรใช้ฟูก ฟองน้ำหรือเตียงสปริง
เพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่น ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น จนเกิดอาการปวดหลังได้
ท่านอนที่ผิด คือการนอนคว่ำจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุด โดยเฉพาะระดับเอว ทำให้ปวดหลังได้
การนอนหงายทำให้หลังแอ่นได้เล็กน้อย ทำให้ปวดหลังได้ ควรใช้หมอนข้างใบใหญ่ หนุนใต้โคนขา
จะช่วยให้กระดูกสันหลังแบนราบ และควรมีหมอนรองรับบริเวณคอไว้
การนอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดี ควรนอนให้ขาล่างเหยียดตรง ขาบนงอ ตะโพกและเข่ากอดหมอนข้างไว้ หลังให้โก่งเล็กน้อย
การนั่ง ควรนั่งให้ชิดขอบในของเก้าอี้โดยหลังไม่โก่ง เก้าอี้ที่นั่งต้องรองรับก้นและโคนขาได้ทั้งหมด ความสูงพอดีที่เท้าแตะพื้น
การยืน ควรยืนพักขา 1 ข้าง คือ เข่าตึงข้างหนึ่ง หย่อนข้างหนึ่ง จึงจะไม่ทำให้หลังแอ่น
การยกของ อย่าก้มลงยกของ การก้มตัวลงหยิบของในลักษณะเข่าเหยียดตรงเป็นท่าที่ทำให้ปวดหลังได้
เพราะกล้ามเนื้อหลังจะเป็นส่วนที่ออกแรง จึงอาจทำให้เกิดอาการอักเสบได้
ควรย่อเข่าลงนั่งกับพื้น ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา
การนั่งขับรถ บางท่านต้องขับรถเป็นระยะเวลานาน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดเอว
ดังนั้นท่านั่งขับรถจะต้องนั่งให้ถูกวิธี และควรมีการพักโดยออกมายืนแล้วบิดขี้เกียจบ้าง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง
ถ้ามีอาการปวดหลัง ปวดเอว ในส่วนของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น ควรรับประทาน ยากษัยเส้น ตรา เอ
บางท่าน กล้ามเนื้อหลังอาจตึงมาก ทำให้ปวดหลัง ปวดเอว เรื้อรัง ควรนวดโดยท่านที่ชำนาญร่วมด้วย

ส่วนประกอบของหลัง
หลังของเราประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังทั้งหมด 24 ชิ้นที่เรียกว่า vertebrae
โดยเรียงซ้อนกันตั้งแต่กระดูกสะโพกถึงกะโหลกศีรษะ ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะมีหมอนรองกระดูกขั้นกลาง
เพื่อรับแรงกระแทกของกระดูก และเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว
กระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางของร่างกาย กระดูกจะถูกยึดติดเป็นแนวโดยอาศัยกล้ามเนื้อและเอ็น
การหดเกร็งกล้ามเนื้อหลังจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
หากมีอาการเหล่านี้ร่วมกับอาการปวดหลัง ควรรีบพบแพทย
ปัสสาวะแสบ ขัด ขุ่น ปัสสาวะลำบาก
มีอาการชาบริเวณหลังหรือบริเวณอวัยวะเพศ
มีอาการชาและอ่อนแรงขาข้างหนึ่ง
มีอาการปวดแปล๊บที่ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
เดินเซ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:  เรืองแผนไทยเภสัช

โรคปวดหลัง

โรคปวดหลัง…ภัยเงียบของหนุ่มสาวออฟฟิศ

โดย เจ้าของร้าน
เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา
  • แก้ไขบทความนี้
  • ลบบทความนี้

โรคปวดหลัง…ภัยเงียบของหนุ่มสาวออฟฟิศ
ปัจจุบัน โรคปวดหลังพบได้บ่อยในหมู่ ผู้ที่มีอาชีพนั่งทำงานเป็นเวลานาน ตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงวัยสูงอายุ สาเหตุของโรคปวดหลังในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการนั่งนานๆ หรือนั่งผิดท่าเช่น นั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ เนื่องจากการนั่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อกระดูกหลังมากที่สุด โดยเฉพาะนั่งนานๆ และโค้งงอผิดท่า บวกกับความตึงเครียดซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังเกิดการเกร็งจะยิ่งส่งผลให้ปวดหลังมากยิ่งขึ้น 

อาการปวดหลังแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
ปวดหลังแบบเฉียบพลัน อาการมักจะไม่เกิน 6 สัปดาห์ ถ้าอาการปวดมากกว่า 12 สัปดาห์ เรียกว่า "ปวดหลังเรื้อรัง" อาการส่วนใหญ่จะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉียบพลันหรือค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือบิดตัว เอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวด มากขึ้น โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะแข็งแรงดีและไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย การรักษาโรคปวดหลังจำเป็นต้องสังเกตว่ามีสาเหตุจากอะไร ถ้าหากเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเองก็ควรแก้ไขเสีย หากมีอาการปวดมาก ให้นอนหงายบนพื้น แล้วใช้เท้าพาดบนเก้าอี้ให้เข่างอเป็นมุมฉาก สักครู่หนึ่งก็อาจทุเลาได้ หรือจะใช้ยาหม่อง หรือน้ำมันระกำ ทานวด หรือใช้น้ำอุ่นประคบก็ได้ อาจใช้ควบคู่กับการทานยาแก้ปวด ครั้งละ 1-2 เม็ด ถ้าปวดมากแล้วทานยาแก้ปวดก็ยังไม่หาย อาจใช้ยาคลายกล้ามเนื้อครั้งละ 1 เม็ด ซ้ำได้ทุก 6 -8 ชั่วโมง และหมั่นฝึกกายบริหารให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง 

ถ้าเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการชาที่ขา หรือขาไม่มีแรง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรแนะนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ ซึ่งอาจต้องเอกซเรย์หลัง หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ การป้องกันทำได้โดยการออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง เพราะหากเราไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การออกกำลังจะต้องค่อยสร้างความแข็งแรงทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง และจะต้องให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดี ไม่มีข้อติด 

การออกกำลังอาจจะทำได้โดยการเดิน การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ จะทำให้หลังแข็งแรง ส่วนการนั่งทำคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ดควรอยู่เหนือระดับเอวหรืออยู่เหนือตักเล็กน้อยจอคอมพิวเตอร์ควรตั้งอยู่ระดับหน้า เหมือนที่ตั้งโน้ตนักดนตรีและอยู่สูงพอดีระดับสายตา จะได้มองตรงๆ ได้ การนั่งทำงานทั่วๆ ไป เช่น การนั่งอ่านและเขียนหนังสือนั้น ควรนั่งตัวตรง หลังพิงแบบสนิท อย่านั่งก้มตัวมาก โต๊ะทำงานไม่อยู่ห่างมากเกินไป จะได้ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหลัง นอกจากนี้ การเปลี่ยนอิริยาบทเมื่อรู้สึกเมื่อยขณะทำงาน จะช่วยคลายกล้ามเนื้อได้ พยายามเปลี่ยนท่านั่ง หรือลุกเดินเพื่อผ่อนคลายทุก 30 นาที ก็จะทำให้ผ่อนคลายการปวดหลังได้ อุปกรณ์การทำงานก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรคปวดหลังเช่นกัน โดยควรจะเลือกเก้าอี้ที่หมุนได้เพื่อป้องกันการบิดของเอว มีที่พักของแขนขณะที่นั่งพัก ควรจะมีหมอนเล็กๆ รองบริเวณเอว การนั่ง ที่ถูกต้อง ต้องนั่งให้หลังตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ เก้าอี้ต้องไม่สูงเกินไป ระดับเข่าควรจะอยู่สูงกว่าระดับสะโพก อาจจะหาเก้าอี้เล็กรองเท้าเวลานั่ง 

สำหรับใครที่มีอาการปวดหลังอยู่บ่อยๆ ลองกายบริหารเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหลังด้วยการนั่งบนเตียง ขาข้างหนึ่งเหยียดตรง ขาอีกข้างวางบนที่พักขา เหยียดแขน 2 ข้างตรง วางบนขาข้างที่เหยียดตรง หายใจเข้าลึกๆ และค่อยๆ ก้มศีรษะ ลำตัว และหลัง เลื่อนแขนไปให้สุดเท่าที่จะทำได้ หายใจออกช้าๆ แล้วกลับไปอยู่ในท่าเดิม ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง” แพทย์หญิงอรนุช กล่าวทิ้งท้าย 

หนุ่มสาวออฟฟิศไฟแรงทั้งหลาย หากอยากทำงานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากตั้งใจทำงานแล้ว ยังจำเป็นต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะโรคปวดหลังที่ถึงแม้จะดูเหมือนเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงอะไร เมื่อเปรียบเทียบกับโรคอื่นๆ แต่ก็สร้างความทรมาน ความรำคาญ และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานเช่นกัน และเมื่อจำเป็นต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงานเสียใหม่ ลองทำท่ากายบริหาร หรือ เดินยืดเส้นยืดสายเมื่อรู้สึกตึงที่บริเวณหลัง ใครที่ทานข้าวเที่ยงบนออฟฟิศเป็นประจำ ก็ลองเปลี่ยนบรรยากาศลงไปทานข้างล่างบ้างก็ดี ถ้าหากว่าเรายังต้องใช้ร่างกายในการทำงานแล้วล่ะก็...อย่าลืมรักษาร่างกายนี้ไว้ให้ทำงานได้นานๆ จะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุขกับการทำงานอีกด้วย
 
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  Pfizer Health Club

ป้องกันเข่าเสื่อมด้วยตนเอง

ป้องกันเข่าเสื่อม ด้วยตนเอง
 
 
1. อย่ากิน และนั่งมากจนอ้วน
พบว่า ถ้าลดน้ำหนักตัวลงได้ประมาณ 5 กิโลกรัม สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ถึง 50% มีหลักฐานยืนยันในผู้มีอาการปวดเข่า พบว่า อาการปวดจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าน้ำหนักตัวลดลง  นอกจากนี้ การออกกำลังด้วยการเดินเร็วปานกลาง อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง ร่วมกับการควบคุมอาหารจะช่วยลดความอ้วนได้ดี
2. โครงสร้างเข่าผิดปกติ
ลักษณะโครงสร้างเข่าผิดปกติมีหลายชนิด เช่น เข่าโก่ง  เข่าชิด  หรือเข่าแอ่น  ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาทางแก้ไขตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น การเสริมรองเท้า การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง  หรือถ้าไม่สามารถทำอะไรเพื่อแก้ไขได้  ควรใช้เข่าอย่างระมัดระวัง ไม่เสี่ยงเล่นกีฬาหนัก และหลีกเลี่ยงกีฬาที่ใช้เข่ามาก เช่น แบคมินตัน เทนนิส ฟุตบอล ไม่นั่งยอง ๆ หรือนั่งพื้นนาน ๆ
3. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาปะทะ ที่จะนำมาซึ่งอาการบาดเจ็บของเข่า
ควรเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ  ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อเอามันส์ ไม่ควรเสี่ยง ปะทะ หรือเอาชนะกันอย่างเอาเป็นเอาตาย
4. ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง ยืน เป็นเวลานาน
ผู้ที่ต้องคุกเข่าทำงานอาจต้องหาวัสดุที่นิ่มมารองบริเวณเข่า เพื่อกระจายแรงกด ถ้าจำเป็นอยู่ในท่าเหล่านี้นาน ๆ ให้พยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อสลับเปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ ในกิจกรมทางศาสนาที่ต้องนั่งพับเพียบกับพื้นเป็นเวลานาน ให้สลับนั่งพับเพียบซ้าย-ขวาบ่อย ๆ ไม่ควรรอจนเข่าปวดแล้วจึงขยับ
5. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทก หรือแรงบิดต่อข้อเข่าสูง  เช่น การกระโดดซ้ำ ๆ การยกของหนักเกินกำลัง การหมุนตัวด้วยการใช้หัวเข่า
6. ทำการลองวัดความยาวของช่วงขา
ให้นอนหงาย ปล่อยขาตามสบาย แต่ไม่ต้องกางขา  ให้เพื่อนคลำปุ่มกระดูกบริเวณที่เท้าสะเอว (anterior superior iliac spine, ASIS)  และกลางตาตุ่มของเท้าด้านใน  วัดระยะห่างจากทั้ง 2 จุดในขาข้างหนึ่ง  ถ้าขาทั้งสองข้างยาวไม่เท่ากันเกิน 2 เซนติเมตร  ควรหารองเทาเสริมในระยะที่ขาดไป
7. ออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าขาให้แข็งแรง
อาจใช้วิธีการที่ทำกันทั่วไป คือ นำถุงทรายน้ำหนัก 1-2 กิโลกรัม มาผูกกับข้อเท้า นั่งห้อยขา แล้วยกขึ้น-ลง ช้า ๆ ประมาณ 10 ครั้ง ให้เมื่อยแบบพอดี ๆ  ให้ทำซ้ำอีก 2 เซ็ต  ถ้ายังง่ายไป ก็เพิ่มน้ำหนักถุงทรายทีละ 0.5 กิโลกรัม  จนได้น้ำหนักที่ยกได้ 10 ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ๆ หรือจะออกกำลังด้วยการยืนย่อเข่าทั้ง 2 ข้างประมาณ 20 องศา  ค้างไว้ 1 วินาที  แล้วเหยียดเข่า ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง  ถ้ารู้สึกว่าง่ายไป อาจยืนขาเดียวพิงฝา  ปรับจนทำได้ประมาณ 10 ครั้ง  แล้วเมื่อยพอดี  แล้วทำซ้ำอีก 2 เซ็ต
8. ถ้ามีอาการบาดเจ็บที่เข่า  เช่น มีอาการบวม ต้องทำการรักษา และงดการทำกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และต้องระวังอย่าให้ช้ำ และอย่าปล่อยให้มีอาการเรื้อรัง
9. ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง  เพราะรองเท้าส้นสูงจะทำให้เข่าแอ่น  และมีโอกาสที่จะเป็นสาเหตุของข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต  ในการเล่นกีฬา ควรสวมรองเท้าที่เหมาะกับกีฬา แต่ละประเภท เช่น รองเท้าวิ่ง ก็ควรมีส้นรองเท้าที่นิ่มรับแรงกระแทกได้ดี  รองเท้าสำหรับใส่เล่นแบดมินตัน หรือเทนนิส ควรมีพื้นบาง  เพื่อไม่ให้พลิกได้ง่าย เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : B Good Health

โรคปวดไหล่

“อาการปวดข้อไหล่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคนที่มีอายุเลยวัยกลางคนไปแล้ว โรคที่พบได้บ่อยคือโรคข้อไหล่ติดแข็งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการปวดข้อไหล่ในระยะเริ่มแรก จะรีรอที่จะไปหาแพทย์ และพยายามไม่ยอมใช้ข้อไหล่ข้างนั้นต่อไปการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะลดน้อยลง บางคนยืนโหนรถเมล์จะรู้สึกว่ายกโหนรถเมล์ลำบากหรือถ้าเป็นมากๆ จะโหนไม่ได้เลย”

อาการ 
- เจ็บปวดบริเวณข้อไหล่
- ยกแขนข้างที่ปวดได้ไม่สูงนัก เปรียบเทียบกับด้านตรงข้าม ถ้าพยายามผืนยกให้สูงขึ้นจะมีอาการปวดมากขึ้น

การรักษา
การรักษาด้วยตัวเอง 
- ถ้าปวดมากควรพักการใช้ข้อไหล่และใช้ผ้าคล้องแขนคล้องคอชั่วคราว 2-3 วัน
- ถ้าเริ่มปวดควรประคบด้วยถุงน้ำแข็งวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที
- อย่าบีบนวดหรือดัดข้อไหล่ที่กำลังปวดเพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น
- อย่านอนทับแขนและไหล่ข้างที่ปวด
- อย่าใช้แขนข้างที่ปวดยกหรือหิ้วของหนักๆ
- อย่าโหนหรือเหนี่ยวนานเกินควร
- เริ่มบริหารข้อไหล่เมื่อทุเลาปวด ทำวันละน้อยค่อยๆ เพิ่มขึ้นจะเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ปกติ
- ถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์

การรักษาทางแพทย์
- แพทย์มีการตรวจร่างกาย อาจถ่ายภาพรังสีของข้อ
- ให้ยาระงับปวด ยาระงับอาการอักเสบบางรายอาจถึงฉีกยา และส่งไปปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาทางกายภาพบำบัดต่อไป

การรักษาทางกายภาพบำบัด
(ในกรณีที่ท่านมีอาการปวดมากและไม่สามารถรักษาด้วยตัวเองได้)
- การใช้ความเย็นในระยะมีอาการปวดเฉียบพลัน
- การใช้ความร้อน แผ่นผ้าร้อน เครื่องอบความร้อนคลื่นสั้น เครื่องนวดอัตราซาวน์ ฯลฯ เพื่อลดอาการปวดและเกร็งของกล้ามเนื้อ
- การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดปวด 
- การดัดดึง โดยใช้วิธีเฉพาะเนื้อยึดพังผืด ทำให้ข้อไหล่เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
- การออกกำลังกาย ถือได้ว่าเป็นหัวใจในการรักษาผู้ป่วยข้อไหล่ติด นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ใช้เครื่องมือต่างๆ ประกอบการออกกำลังกาย

การออกกำลังข้อไหล่
1. แกว่งแขน
ใช้แขนดึงท้าวบนโต๊ะ ก้มตัวลงเล็กน้อยปล่อยให้แขนข้างไหล่เจ็บห้อยลงตรงๆ แล้วค่อยๆ แกว่งแขนไปข้างหน้าข้างหลัง เข้าในออกนอก คล้ายกับการแกว่งของตุ้มนาฬิกา จากนั้นแกว่งเป็นวงกลมอย่างช้าๆ ครั้งละ 5 นาที วันละ 3 ครั้ง การแกว่งให้แกว่งแขนอยู่ในจุดจำกัดของอาการเจ็บป่วย เมื่ออาการปวดลดลงให้แกว่งขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ
2. ทำนิ้วไต่ฝาผนัง
2.1 ยืนหันหน้าเข้าฝา ห่างประมาณ 1 ฟุต ยกแขนข้างที่ไหล่มีปัญหาเอานิ้วไต่ฝาผนังขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าเจ็บพอทน ทำเครื่องหมายไว้ทำซ้ำอย่างน้อย 5 เที่ยววันละ 3 ครั้ง วันต่อๆมาสังเกตเครื่องหมายว่าท่านยกแขนได้สูงเพิ่มขึ้นหรือไม่
2.2 เมื่อมีอาการเจ็บปวดข้อไหล่ลดลงน้อยลงให้ยืนหันข้างที่ไหล่ปวดเข้าข้างฝา ห่างประมาณ 1 ฟุต กางแขนเอานิ้วแตะฝาและไต่ขึ้นไปเรื่อย เช่นเดียวกับข้อ
2.1 จนกระทั่งยกแขนได้สูงสุดเหมือนปกติ

ข้อควรระวัง
ไม่เอียงตัว แอ่นตัวหรือเขย่งตัวขณะมือไต่ฝา
ท่าออกกำลังกายยกไหล่ทุกทิศ
พยายามเคลื่อนไหวข้อไหล่ทุกทิศทางทำท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 หน
ท่าที่ 1 ยกแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าจนต้นแขนชิดใบหูแล้วกลับลงท่าเดิม จากนั้นเหยียดแขนทั้งสองข้างไปด้านหลังแล้วกลับลงท่าเดิม
ท่าที่ 2 กางแขนทั้งสองข้างจนสูงระดับไหล่ หงายมือและยกแขนขึ้นจนต้นแขนชิดใบหูแล้วกลับลงท่าเดิม
ท่าที่ 3 เอามือทั้งสองข้างประสานท้ายทอยกางศอกำทั้งสองข้างไปด้านหลังให้สุดแล้วหุบศอกมาชิดด้านหล้าให้มากที่สุด
ท่าที่ 4 กางแขนทั้งสองข้างสูงระดับไหล่หมุนแขนเข้าออกให้มากที่สุดยกแขนเหนือศีรษะเหยียดตรงหมุนเข้า-ออกมากที่สุด
ท่าที่ 5 เอามือข้างไหล่เจ็บไว้หลังแล้วค่อยๆ ขยับให้สูงขึ้น เอามือข้างไหล่เจ็บอ้อมมาแตะบ่าค่อยๆขยับให้ต่ำลง การออกกำลังกายท่านี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ทุเลาจากการปวดลงมาแล้ว

ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันข้อไหล่ปวดหรือยึดติดอีก
1. หมั่นออกกำลังกล้ามเนื้อข้อไหล่ตามที่เคยปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ
2. หลีกเลี่ยงจากการยกสิ่งของที่หนักเกินความสามารถของท่าน
3. หลีกเลี่ยงการใช้มือหรือแขนทำงานเหนือระดับศีรษะนานเกินไป เช่น ทาสีเพดานบ้าน เช็ดตู้ ฯลฯ
4. การยกของควรยกให้ใกล้ชิดกับลำดับตัวและในท่างอข้อศอก
5. อย่าอ่านหนังสือหรือดูทีวีในท่านอนคว่ำแล้วใช้ข้อศอกยันตัวรับน้ำหนักไว้นานเกินไป
6. การยืนหรือเดินควรให้ไหล่ลำตัวตรงในท่าอกผายไหล่ผึ่ง
กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

โรคเครียด

 กลุ่มเสี่ยง
ทุกเพศ ทุกวัย ที่มีภาวะเครียดสะสม

อาการที่พึงระวัง
อาการเวียนศรีษะ ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดขากรรไกร

ลักษณะของโรค
ที่จริงแล้ว โรคเครียดคือโรคของจิตใจ อันมีสาเหตุจากความเครียด และความผิดปกติต่าง ๆ ในสมอง ความเครียดทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานแบบพร้อมสู้ ซึ่งจะทำให้เกิดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ที่พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก ขมับ ท้ายทอย ต้นคอ และหัวไหล่ หรือในบางคนที่เป็นโรคเครียดลงกระเพาะ โดยเมื่อเกิดความเครียด กรดจะไหลอยู่ในกระเพาะอาหารมาก สำหรับบางรายที่มีอาการกรดย้อนกลับขึ้นมาอาจพบอาการเรอ อาเจียนเหม็นเปรี้ยว บางรายที่เครียดมาก อาจถึงขนาดอาเจียนได้ รวมไปถึงการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย
โดยทั่วไป 1 ใน 10 คนจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ และจำนวนคนที่เป็นโรคเครียดจะเพิ่มขึ้นสูงทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้หญิงจำนวน 1 ใน 2 คน จะพบว่าเป็นโรคนี้ โรคเครียดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเจ็บป่วยของตัวเอง เมื่อป่วยแล้วหาสาเหตุไม่พบ  สุดท้ายก็กลายเป็นผู้ป่วย โรคเครียดในที่สุด

1. การทำงานเร่งรีบ ทำให้ระบบประสาททำงานเยอะ เป็นความเครียดของระบบประสาท วิธีการคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งก็คือ การปรับเปลี่ยนท่านั่งให้เหมาะสมเวลาทำงานคือ เวลานั่งให้ยืดตัวให้ตรง ห้ามห่อไหล่ แล้วฝึกเรื่องของการนวดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง ใช้มือขวานวดกล้ามเนื้อข้างซ้าย และนวดกดเป็นจุด ๆ ไปจากหัวไหล่ และต้นแขน ใช้มือด้านซ้ายกดนวดไปที่กล้ามเนื้อต้นคอ และหัวไหล่ด้านขวา จากนั้นนวดต้นคอ โดยใช้นิ้วโป้งกดต้นคอ กดเป็นจุด ๆ ไล่ไปเรื่อย ๆ จากบนลงล่าง และนวดขมับสองข้าง และคลึงโดยรอบ
2. จำไว้เสมอว่าความเครียดมีทั้งที่เป็นโรค และไม่เป็นโรค ปกติอาการเครียดจะเกิดขึ้นเป็นประจำในบางสถานการณ์ แต่ถ้าในภาวะเครียดตามปกติจะไม่ถือว่าเป็นโรค และทางออกของความเครียดทั้ง 2 ลักษณะ คือ การปล่อยวาง และคิดเชิงบวก
3. วิธีตรวจสอบเบื้องต้นว่า เป็ฯโรคขากรรไกรอักเสบหรือไม่ ทำได้โดยการลองเอามือแตะที่ข้อต่อขากรรไกรดู ถ้ามีเสียงดังคลิกเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีอาการอะไร ไม่เจ็บ ไม่ปวด ก็ไม่ต้องเป็นกังวล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : B Good Health

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ใช่คุณหรือไม่ ที่อยากจะหายจากอาการปวดเข่า ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดเอว และปวดคอ หมอนสมุนไพร Precious 100% ช่วยคุณได้


พรีเชียส หมอนสมุนไพร 100%
(PRECIOUS HERBAL PILLOW 100%)

รักษาอาการปวดหัว ฟื้นฟู ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอและหลัง  ความเจ็บปวดหรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา , โรคไขข้อ , โรคนอนไม่หลับ , ซึมเศร้า , คลายเครียด , ปวดเมื่อยตามร่างกาย  หรือเป็นตะคริว



Eye Pillow
สำหรับ  : ประคบบริเวณรอบดวงตา
ขนาด   : 9.5 X 4 นิ้ว
ราคา    : 1,200 บาท




Medium Pillow
สำหรับ  : ประคบบริเวณเข่า  หรือบริเวณท้ายทอย
ขนาด   : 6 X 17 นิ้ว
ราคา    : 1,800 บาท




Shoulder Pillow
สำหรับ  : ประคบบริเวณไหล่หรือ บริเวณลำคอ
ขนาด   : 20 x 7 นิ้ว
ราคา    : 3,700 บาท




Spine Back Pillow
สำหรับ  : ประคบบริเวณหลัง /กระดูกสันหลัง
ขนาด   : 10 X 17 นิ้ว
ราคา    : 2,600 บาท




Waist Pillow
สำหรับ  : ประคบบริเวณบั้นเอว หรือบริเวณที่ปวดหลัง
ขนาด   : 8 X 17 นิ้ว
ราคา    : 2,300 บาท




การชำระเงิน

ชื่อบัญชี   นายสุรชัย ชัยโชติรุ่งเรือง

1. บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาชิดลม
    เลขที่ 001-2-06035-5
2. บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาเดอะมอลล์ท่าพระ
    เลขที่ 245-0-42897-0
3. บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุขุมวิท 21
    เลขที่ 611-2-04919-1 


วิธีใช้
1. สำหรับประคบด้วยความเย็น นำหมอนสมุนไพรใส่ไว้ในถุงพลาสติก และนำไปแช่ในตู้เย็นช่องฟรีซ  ประมาณ 1-3 ชั่วโมง  จากนั้นนำมาประคบตามร่างกาย
2. สำหรับประคบด้วยความร้อน นำหมอนสมุนไพร เข้าเครื่องอบไมโครเวฟที่อุณภูมิสูงสุด  (High)  ตั้งเวลาไว้ 2 นาที จากนั้นนำมาประคบตามร่างกาย
3. สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องอบไมโครเวฟ  สามารถนำหมอนสมุนไพรมาอุ่นด้วยวิธีการดังนี้
3.1   นำหมอนสมุนไพรใส่ถุงพลาสติก ปิดให้สนิท  ใส่ไว้ที่ชามขนาดพอดีพร้อม
ปิดฝา
3.2   เตรียมหม้อสำหรับนึ่ง  โดยใส่น้ำเปล่าไว้ที่หม้อนึ่งชั้นล่างสุด  จากนั้นนำชามสำหรับนึ่งหมอนสมุนไพรวางไว้ที่หม้อนึ่ง  ปิดฝาอุ่นไว้ประมาณ 15 นาที  หลังจากนั้นนำมาประคบตามร่างกาย

หมายเหตุ :เฉพาะประคบบริเวณรอบดวงตา  ต้องประคบด้วยความเย็นเท่านั้น


Merchant : SMEs Surachaionline
Contact : K. Captain (คุณกัปตัน)
Tel : 081-6373780, 088-5851379 
Line Id:  captainwindy
Email: chaichoti@yahoo.com
www.surachaionline.com